ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์
Toggle Navigation MENU
  • Home
  • ข้อมูลองค์กร
    • ประวัติ
    • โครงสร้างองค์กร
    • ทำเนียบผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร
    • บุคลากร
    • ปฏิทินกิจกรรม
    • ความภาคภูมิใจ
    • งบทดลองรายเดือน
    • ข่าวกิจกรรม
    • ประกาศรับสมัครงาน
  • องค์ความรู้เกี่ยวกับสุกร
    • พันธุ์สุกร
    • การใช้ประโยชน์จากพันธุกรรม
    • การรีบเก็บน้ำเชื้อพ่อพันธุ์สุกร
    • ผลการทดสอบพันธุ์สุกร
    • การเลี้ยงสุกร
  • บริการ
    • การลงทะเบียนใช้งานระบบ
    • ฟอร์มลงทะเบียนเข้าใช้งาน
    • แบบฟอร์มจองซื้อสุกร
    • ราคาจำหน่ายสุกร
  • นโยบาย
  • ค้นข้อมูลในเว็บฯ
    • แผนผังเว็บไซต์
    • ดาวน์โหลด
    • สถิติการใช้งานเว็บไซต์
    • ค้นหา
  • ทำเนียบพ่อพันธุ์
  • การจำหน่ายสุกร
    • สรุปโครงการไทยนิยมยั่งยืน
  • ติดต่อเรา
    • ผู้อำนวยการ
    • ผู้ดูแลระบบ
    • สอบถามคิวรับสุกร
    • ฟาร์มเครือข่าย
  • ทำแบบสอบถาม
  • คุณอยู่ที่:  
  • หน้าแรก
  • องค์ความรู้เกี่ยวกับสุกร
  • พันธุ์สุกร

พันธุ์สุกร ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์

พันธุ์สุกร ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์

พันธุ์สุกร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามการใช้ประโยชน์ คือ

  1. ประเภทมัน เป็นสุกรรูปร่างตัวสั้น อ้วนกลม มีมันมาก สะโพกเล็ก โตช้า เช่น สุกรพันธุ์พื้นเมืองของประเทศไทย
  2. ประเภทเนื้อ รูปร่างจะสั้นกว่าพันธุ์เบคอน ไหล่และสะโพกใหญ่เด่นชัด ลำตัวหนาและทึก ได้แก่ พันธุ์ดูร็อกเจอร์ซี่ เบอร์กเชียร์ แฮมเชียร์ เป็นต้น
  3. ประเภทเบคอน รูปร่างใหญ่ ลำตัวยาว มีเนื้อมาก ไขมันน้อย ความหนาและความลึกของลำตัวน้อยกว่าประเภทเนื้อ ได้แก่ พันธุ์แลนด์เรซ ลาร์จไวท์ เป็นต้น

พันธุ์สุกรจากต่างประเทศ และพันธุ์สุกรพื้นเมืองที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย

  1. พันธุ์ลาร์จไวท์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษ นำเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 มีสีขาว หูลำตัวยาว กระดูกใหญ่ โครงใหญ่ หน้าสั้น หัวใหญ่ โตเต็มที่น้ำหนัก 200-250 กิโลกรัม ให้ลูกดกเฉลี่ย 9-10 ตัว เลี้ยงลูกเก่ง หย่านมเฉลี่ย 8-9 ตัว มีความแข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว คุณภาพซากดี พันธุ์ลาร์จไวท์ เหมาะที่จะใช้เป็นทั้งสายพ่อพันธุ์ละแม่พันธุ์
  2. พันธุ์แลนด์เรซ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเดนมาร์ค นำเข้ามาในประเทศไทยปี พ.ศ. 2506 มีสีขาว หูปรก หน้ายาว ลำตัวยาว มีซี่โครงมากถึง 16-17 คู่ (สุกรปกติมีกระดูกซี่โครง 15-16 คู่) โตเต็มที่ 200-250 กิโลกรัม ให้ลูกดกเฉลี่ย 9-10 ตัว เลี้ยงลูกเก่ง หย่านมเฉลี่ย 8-9 ตัว มีข้อเสียคืออ่อนแอ มักมีปัญหาเรื่องขาอ่อน ขาไม่ค่อยแข็งแรง แก้ไขโดยต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่มีคุณภาพดี พันธุ์แลนด์เรซเหมาะที่จะใช้เป็นสายแม่พันธุ์
  3. พันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอเมริกา มีสีแดง หูปรกเป็นส่วนใหญ่ ลำตัวสั้นกว่าลาร์จไวท์ และแลนด์เรซ ลำตัวหนา หลังโค้ง โตเต็มที่ 200-250 กิโลกรัม เป็นสุกรที่ให้ลูกมาดกเฉลี่ย 8-9 ตัว เลี้ยงลูกไม่เก่ง หย่านมเฉลี่ย 6-7 ตัว ลูกสุกรหลังจากอายุ 2 เดือนไปแล้ว เจริญเติบโตเร็วมีความแข็งแรงทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศทุกชนิด นิยมใช้เป็นสายพ่อพันธุ์เพื่อผลิตลูกผสมจะได้ลูกผสมที่สวยงาม แผ่นหลังกว้าง เจริญเติบโตเร็ว
  4. พันธุ์เปียแตรง มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเบลเยี่ยม มีสีขาวเหลือง ลายสลับ เป็นสุกรที่มีรูปร่างสวยงาม กล้ามเนื้อเป็นมัดๆ แผ่นหลังกว้างเป็นปีก สะโพกเห็นเด่นชัด โตเต็มที่ 150-200 กิโลกรัม มีเปอร์เซนต์เนื้อแดงสูงมาก มีข้อเสียคือ ตื่นตกใจซ็อคตายง่าย และโตช้า ปัจจุบันนิยมใช้ผสมข้ามพันธุ์เป็นพ่อพันธุ์ในการผลิตสุกรขุน
  5. สุกรพื้นเมือง เป็นสุกรที่เลี้ยงอยู่ตามหมู่บ้านชนบทพวกชาวนา ลักษณะโดยทั่วไป จะมีขนสีดำ ท้องยาน หลังแอ่น การเจริญเติบโตช้า ให้ลูกดก และเลี้ยงลูกเก่ง จะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น สุกรพันธุ์ไหหลำ พันธุ์ควาย พันธุ์ราด พันธุ์พวง สุกรป่า เป็นต้น
      1. สุกรพันธุ์ไหหลำ เลี้ยงตามภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย มีสีดำปนขาว ตามลำตัวจะมีสีดำ ท้องมักมีสีชาว จมูกยาวและแอ่นเล็กน้อย คางย้อย ไหล่กว้าง หลังแอ่น สะโพกเล็ก มีอัตราการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ได้ดีกว่าสุกรพื้นเมืองอื่นๆ แม่สุกรโตเต็มที่ หนักประมาณ 100-120 กิโลกรัม
      2. สุกรพันธุ์ราดหรือพวง เลี้ยงตามภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ มีขนสีดำตลอดตัว มีสีขาวปนแซมบ้างเล็กน้อย จมูกยาว ลำตัวสั้นป้อม หลังแอ่น ใบหูตั้งเล็ก ผิวหนังหยาบ แม่สุกรโตเต็มที่หนักประมาณ 80-100 กิโลกรัม
      3. สุกรพันธุ์ควาย เลี้ยงตามภาคเหนือและภาคกลาง มีลักษณะคล้ายสุกรไหหลำ แตกต่างกันที่พันธุ์ควายจะมีสีดำ สุกรพันธุ์ควายมีหูใหญ่ปรกเล็กน้อย มีรอยย่นตามลำตัว เป็นสุกรที่มีขนาดใหญ่กว่าสุกรพื้นเมืองพันธุ์อื่น แม่สุกรโตเต็มที่หนักประมาณ 100-125 กิโลกรัม
      4. สุกรป่า เลี้ยงตามภาคต่างๆ ทั่วไป มีขนหยาบแข็ง สีนำตาลเข้มหรือสีดำเข้ม หรือสีดอกเลา หนังหนา หน้ายาว จมูกยาวและแหลมกว่าสุกรพื้นเมือง ขาเล็กและเรียว ดูปราดเปรียว ที่พบมีอยู่ 2 พันธุ์ คือพันธุ์หน้ายาว และพันธุ์หน้าสั้น แม่สุกรโตเต็มที่หนักประมาณ 80 กิโลกรัม
  6. นอกจากนี้ก็มีสุกรพันธุ์แฮมเชียร์ เบอร์เชียร์ และเหมยซาน ที่นำเข้ามาทดลองเลี้ยงดูในประเทศไทย แต่ไม่นิยมเลี้ยงแพร่หลาย ที่นิยมเลี้ยงกันมากก็มีเพียง 3 พันธุ์เท่านั้น คือ ลาร์จไวท์ แลนด์เรซ และดูร็อกเจอร์ซี่ ส่วนสุกรลูกผสมที่เป็นสุกรขุน นิยมใช้สุกรสามสายพันธุ์คือ ดูร็อกเจอร์ซี่ X แลนด์เรซ-ลาร์จไวท์ (โดยใช้พ่อพันธุ์แท้ดูร็อคเจอร์ซี่ และแม่ลูกผสมแลนด์เรซ-ลาร์จไวท์)

พันธุ์สุกร ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร เลี้ยงปรับปรุงพันธุ์ และหรือ เคยเลี้ยง

ตัวกรอง
รายการของเนื้อหาในหมวดหมู่ พันธุ์สุกร ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์
หัวเรื่อง เปิดแล้ว
สุกรพันธุ์จินหัว (Jinhua pig) พันธุ์สัตว์พระราชทาน 909 ครั้ง
สุกรพันธุ์ดูร็อค สายพันธุ์กรมปศุสัตว์ Duroc DLD Pig 33755 ครั้ง
สุกรพันธุ์ปากช่อง5 Pakchong5 Pig 17048 ครั้ง
สุกรพันธุ์ปากช่อง4 Pakchong4 Pig (ไม่ได้ผลิตแล้ว) 7667 ครั้ง
สุกรพันธุ์ปากช่อง3 Pakchong3 Pig (ไม่ได้ผลิตแล้ว) 10221 ครั้ง
สุกรพันธุ์ลาจน์ไวท์ สายพันธุ์ไอร์แลนด์ LargeWhite Ireland Pig 38210 ครั้ง
สุกรพันธุ์แลนด์เรซ สายพันธุ์ไอร์แลนด์ Landrace Ireland Pig 42982 ครั้ง
สุกรพันธุ์เปียแตรง Pietrain Pig (ไม่ได้ผลิตแล้ว) 15838 ครั้ง
สุกรพันธุ์แฮมเชียร์ Hamshire Pig (ไม่ได้ผลิตแล้ว) 12786 ครั้ง
สุกรพันธุ์ดูร็อค สายพันธุ์เดนมาร์ก Duroc Danmark Pig 10743 ครั้ง

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า

  • 1
  • 2

หน้าแรก | ติดต่อผู้ดูแล |นโยบายเว็บไซต์ |นโยบายความมั่นคงปลอดภัย | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | admin | mail-admin

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2560 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร 78 ม.13 ถ.เลี่ยงเมือง ต.ขนงพระ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30450

โทรศัพท์ 044-009511 มือถือ 081-955-3045 โทรสาร 044-009512 อีเมล์ lcna_nak@dld.go.th เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 099 40000 40 652

เปิดระบบให้ลงทะเบียนครั้งแรก 10 ตุลาคม 2560 | เปิดระบบให้จองครั้งแรก 11 ตุลาคม 2560 | ทีมงานดูแลระบบ

Mail ทีมงานดูแลระบบ : info@moopakchong.org

facebook iconyoutube icon เพิ่มเพื่อน

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล ยอมรับ (Accept)